แผนที่ประเทศญี่ปุ่น

10 ก.ย.

ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ด้านฝั่งตะวันออกของทวีปเอเชีย หรือทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก หมู่เกาะญี่ปุ่นทอดตัวเป็นรูปโค้งเหมือนพระจันทร์เสี้ยว จากทางตอนเหนือที่ละติจูด 45 องศา 33 ลิปดาเหนือ มาทางใต้ ที่ละติจูด 20 องศา 25 ลิปดาเหนือ โดยมีความยาวทั้งสิ้น 3,800 กม.
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นประเทศหมู่เกาะ ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยประมาณ 3,900 เกาะ โดยมีเกาะใหญ่ที่สำคัญ 4 เกาะ คือ
1) ฮอกไกโด (83,517 ตารางกม.)
2) ฮอนชู (231,012 ตารางกม.)
3) ชิโกกุ (18,800 ตารางกม.)
4) กิวชู (44,379 ตารางกม.)

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขา โดยร้อยละ 71 ของพื้นที่ทั้งหมดของญี่ปุ่นเป็นภูเขา ในขณะที่มีพื้นที่ราบเพียงร้อยละ 25 ซึ่งใช้เป็นพื้นที่ทางการเกษตรได้เพียงร้อยละ11 เท่านั้น ญี่ปุ่นมีภูเขาไฟมากประมาณ 1 ใน 10 ของทั้งโลก โดยมีภูเขาฟูจิเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศ (3,776 เมตร) และเป็นภูเขาไฟที่สงบอยู่แต่ยังไม่ดับ และจากการที่ญี่ปุ่นอยู่ในเขตที่มีภูเขาไฟมาก ทำให้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเสมอ

พื้นที่
ประมาณ 377,835 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยผืนดิน 374,744 ตารางกิโลเมตร และผืนน้ำ 3,091 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ชายฝั่งทะเล 29,751 กิโลเมตร

ประชากร ประมาณ 127,760,000 คน (พฤษภาคม 2547) อัตราการขยายตัวของประชากร คือ ร้อยละ 0.08 (2547) ซึ่งนับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ของโลก ความหนาแน่นของประชากรประมาณ 336 คน/ตร.กม.

เชื้อชาติ
เชื้อชาติญี่ปุ่น ในทางประวัติศาสตร์เชื่อกันโดยทั่วไปว่าบรรพบุรุษของชาวญี่ปุ่นได้แก่กลุ่มเผ่าพันธุ์หนึ่งที่เรียกในปัจจุบันว่า เผ่าพันธุ์ยามาโตะ ผสมกับคนที่อพยพมาจากแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ จีนและเกาหลี ปัจจุบันคนต่างชาติกลุ่มใหญ่ที่อยู่ในญี่ปุ่น ได้แก่ ชาวเกาหลีและชาวจีน รวมทั้งเผ่าไอนุ ทั้งนี้ ญี่ปุ่นไม่ถือว่าประเทศของตนมีชนกลุ่มน้อย

ศาสนา
ศาสนาใหญ่ ๆ มี 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ และศาสนาชินโต นอกจากนั้นได้แก่ ศาสนาคริสต์และลัทธิขงจื้อ

ภาษา
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการ

การศึกษา
ภาคบังคับ 9 ปี(ประถมศึกษา 6 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี)

อัตราการรู้หนังสือ ร้อยละ 99.9

วันชาติ
วันที่ 23 ธันวาคม: วันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ (พ.ศ. 2476 หรือ ค.ศ. 1933)

เมืองหลวง
กรุงโตเกียว (Tokyo)

ภูมิอากาศ
มี 4 ฤดูหลัก ที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ
ฤดูใบไม้ผลิ : (มีนาคม-พฤษภาคม) อากาศอบอุ่น
ฤดูร้อน : (มิถุนายน-สิงหาคม) อากาศร้อนชื้นโดยมีช่วงฤดูฝนสั้น ๆ ประมาณ 1 เดือน ในช่วงต้นฤดู
ฤดูใบไม้ร่วง : (กันยายน-พฤศจิกายน) อากาศอบอุ่น โดยมีพายุไต้ฝุ่นมากในช่วงเดือนกันยายน
ฤดูหนาว : (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) อากาศหนาว มีหิมะตกมากทางภาคเหนือของประเทศและฝั่งทะเลญี่ปุ่น ส่วนทางใต้และฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก อากาศจะอบอุ่นกว่า

รถโดยสาร
มีรถบัสลีมูซีนวิ่งบริการระหว่างนาริตะและอาคารท่าอากาศยานโตเกียวซิตี้ (Tokyo City Air Terminal / TCAT) ซี่งอยู่ในย่านธุรกิจของโตเกียว,ไปสถานีโตเกียวและชินจูกุรวมทั้งโรงแรมใหญ่ๆ ในกรุงโตเกียวซื้อตั๋ว (เกือบ ๆ 3,000 เยน) ได้ที่สนามบิน หลังจากผ่านที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรเรียบร้อยแล้วมีรถบัสลีมูซีนวิ่งหลายสาย โดยจอดรอผู้โดยสารตรงริมฟุตบาทภายนอกอาคารและไม่จำกัดจำนวนสัมภาระ ไม่คิดค่าบริการเพิ่ม รถบัสลีมูซีนจะออกจากท่าทุก 20 นาทีหรือราวๆ นั้น วิ่งประมาณ 2-3 ชั่วโมงก็ถึงโรงแรม นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารเดินทางไปยังโยโกฮาม่าและสนามบินภายในประเทศฮาเนดะด้วย
รถไฟ
มีรถไฟ 2 สายให้คุณเลือกเดินทางไปโตเกียว ได้แก่ เคเซสกายไลเนอร์ (Keisei Skyliner) และ เจอาร์นาริตะเอ็กซ์เพรส (JR Narita Express) รถไฟทั้งสองสายวิ่งเร็วกว่าแท็กซี่หรือรถบัสโดยสารถึงสองเท่า แต่ในแง่ความสะดวกแล้วเทียบกับเมื่อคุณอยู่ที่สถานีรถไฟไม่ได้ เนื่องจากที่สถานีจะมีรถไฟสายต่างๆ ให้คุณสามารถเดินทางได้ทั่วเมือง แต่ถึงแม้จะมีบริการรถไฟใต้ดินวิ่งทั่วเมืองก็ตาม หากคุณมีกระเป๋าเกินหนึ่งใบและเป็นกระเป๋าใบใหญ่ หรือมีความอดทนอดกลั้นไปน้อยด้วยแล้ว ก็จงลืมการเดินทางไปในเมือง หรือโรงแรมด้วยบริการรถไฟหรือรถไฟใต้ดินได้เลย โดยเฉพาะเวลาที่อากาศร้อนเหนอะหนะในช่วงฤดูร้อน หากคุณต้องการต่อรถสะดวก ควรขึ้นที่นาริตะเอ็กเพรสจะดีกว่า เพราะจอดตามสถานีของการรถไฟญี่ปุ่น (JR Station) ที่ชิบะ (Chiba) โตเกียว, ชินจูกุ (Shinjuku),อิเคะบุกุโระ (Ikebukuro) โยโกฮาม่า และโอฟุนะ (Ofuna) ขณะที่รถสกายไลเนอร์จอดเฉพาะสถานีอุเอโนะ (Ueno) และใกล้เคียงกันคือ 1ชั่วโมง และไม่จำกัดการขนสัมภาระขึ้นรถ (แต่อย่าลืมว่าการหอบหิ้วกระเป๋าเดินทางใบโตเดินตามสถานีรถไฟบนดิน และใต้ดินในญี่ปุ่น โดยเฉพาะในโตเกียวนั้นต้องใช้พละกำลังอย่างมาก และสาหัสพอๆกับการปีนภูเขาไฟฟูจิเลยทีเดียว ฉะนั้นถ้าคุณมีกระเป๋าเดินทางมากกว่า 1 ใบ และมิได้ขึ้นรถบัสลีมูซีนจากสนามบินตรงไปโรงแรมเลย ก็ควรใช้บริการขนส่งกระเป๋าที่สนามบิน ซึ่งจะส่งถึงมือคุณในวันรุ่งขึ้น) ค่าตั๋วที่นั่งชั้นหนึ่งของนาริตะเอ็กซ์เพรสราคาประมาณ 3,000 เยน และต้องซื้อล่วงหน้า ส่วนตั๋วของสกายไลเนอร์ ราคา 2,000 เยน โดยอาจซื้อล่วงหน้าหรือซื้อที่สถานีรถไฟแล้วรอขึ้นได้เลย รถไฟสกายไลเนอร์สะดวกสบายกว่านาริตะเอ็กซ์เพรสมาก (ยกเว้นที่นั่งชั้นหนึ่งซึ่งแสนสบาย) เนื่องจากที่นั่งชั้นธรรมดาของนาริตะเอ็กซ์เพรสแคบจนเกือบไม่มีที่เหยียดขา เป็นที่นั่ง 4 ที่หันหน้าชนกัน ถ้ามาเป็นครอบครัวแล้วชาวญี่ปุ่นจะนิยมขึ้นรถไฟนี้ แต่สำหรับนักเดินทางที่เพิ่งลงจากเครื่องบิน หรือเหนื่อยล้าจากการท่องเที่ยวจนวินาทีสุดท้ายก่อนออกจากญี่ปุ่นแล้ว คุณต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ (เมื่อที่นั่งเต็มการรถไฟญี่ปุ่นยังอนุญาตให้ผู้โดยสารยืนบนรถไฟได้ ทำให้รถแน่นยิ่งขึ้น) แต่สำหรับเคเซสกายไลเนอร์แล้วไม่เคยถูกจองเต็มหรือคนแน่น รวมทั้งที่นั่งก็สะดวกสบาย มีที่ให้เหยียดขาได้ถ้าพิจารณาราคาซึ่งต่างกันแล้ว สกายไลเนอร์ย่อมดีกว่ามากทั้งราคาและความสบาย ถ้าคุณไม่มีสัมภาระมากก็อาจลงที่สถานีอุเอโนะ (Ueno Station) เพื่อต่อรถไฟของ JR หรือรถไฟใต้ดินหรือคุณอาจนั่งรถแท็กซี่ก็ได้

แท็กซี่
การเดินทางไปไหนมาไหนด้วยรถแท็กซี่ย่อมสะดวกสบายที่สุด แต่น่าเสียดายที่การสัญจรวิธีนี้ราคาแพงกว่าวิธีอื่น ในโตเกียวราคาแท็กซี่จะตั้งต้นที่ 650 เยน และเพียงชั่วการเดินทางระยะสั้น ตัวเลขก็พุ่งพรวดเป็น 3,000 ถึง 5,000 เยน ขอย้ำอีกครั้งว่าคุณไม่ต้องจ่ายค่าทิป รถแท็กซี่มีอยู่เกือบทั่วทุกหนแห่งบนท้องถนน ตามโรงแรมและสถานีรถไฟใหญ่ๆ แท็กซี่ซึ่งมีไฟแดงบนหน้าต่างด้านหน้าแสดงว่าไม่มีคนและพร้อมที่จะรับผู้โดยสารอย่าจับประตูรถแท็กซี่ขณะขึ้นหรือลงจากรถ เพราะโชเฟอร์จะเป็นผู้เปิดปิดประตูเองด้วยคันบังคับข้างหน้า ฉะนั้นพอคุณโบกแท็กซี่และรถจอดเรียบร้อยแล้ว คุณเพียงแต่ยืนรอให้ประตูเปิดเอง เมื่อถึงที่หมาย และจ่ายเงินเสร็จสรรพ แล้วประตูก็จะเปิดออกเองอีกครั้ง เพียงแค่คุณก้าวลงมาแล้วเดินจากไปเท่านั้น หากพยายามจะเปิดหรือปิดประรถเองจะทำให้คนขับไม่พอใจ

ส่วนมากคนขับแท็กซี่พูดภาษาญี่ปุ่น หากคุณเขียนจุดหมายปลายทางเป็นภาษาญี่ปุ่นให้เขา ก็จะช่วยได้มากทีเดียว

อย่าแปลกใจถ้ารถแท็กซี่ไม่หยุดจอดรับคุณในตอนดึก แสดงว่าแท็กซี่คันนั้นกำลังมองหาซารารีมัง และต้องการค่าโดยสารที่มากกว่านี้ระหว่างตีรถกลับไปบริเวณชานเมือง

การต่อเครื่องบินภายในประเทศ
ถ้าต้องการต่อเครื่องบินในประเทศต้องนั่งแท็กซี่,รถโดยสาร หรือรถไฟเข้าโตเกียว แล้วขึ้นเครื่องที่สนามบินฮาเนดะ ไม่มีเที่ยวบินในประเทศออกจากนาริตะ รถบัสลีมูซีนจะพาคุณจากนาริตะวิ่งตรงถึงฮาเนดะ หรือคุณอาจจะนั่งแท็กซี่,รถโดยสาร หรือรถไฟเข้าโตเกียว แล้วขึ้นเครื่องที่สนามบินฮาเนดะ ไม่มีเที่ยวบินในประเทศออกจากนาริตะวิ่งตรงถึงฮาเนดะ หรือคุณอาจจะนั่งแท็กซี่ซึ่งมีราคาแพงลิ่ว

บริการส่งสัมภาระ
ผู้อาศัยในญี่ปุ่นส่วนใหญ่นิยมใช้บริการนี้ ซึ่งรวดเร็วและเชื่อถือได้ หลังจากผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรแล้ว ให้เดินตรงไปที่เคาน์เตอร์ ABC ในอาคารกลาง (มีหลายอาคาร) ส่วนใหญ่มันมีแนวเส้นบอกทางไปไม่ว่าคุณอยู่ ณ แห่งหนใด ABC จะนำสัมภาระถึงมือคุณในวันต่อมา ราคาราว 1,500 เยนต่อกระเป๋า หากมีเกิน 2-3 กระเป๋า แล้วควรพิจารณาการใช้บริการประเภทนี้

จากสนามบินฮาเนดะ (Haneda Airport)
ค่าแท็กซี่จากสนามบินฮาเนดะไปยังใจกลางเมืองอยู่ในราว 5,000 – 6,000 เยน โดยใช้เวลาประมาณ 30-40 นาที ถ้าต้องการความสะดวกสบายในการขนสัมภาระ ก็อาจนั่งรถไฟโมโนเรลไปยังสถานีฮะมะมัตสึโจ (Hamamatsucho Station) บนเส้นทางรถไฟสายเจอาร์ ยามาโนเตะ (JR Yamanote Line) ใช้เวลาเดินทางราว 17 นาที จากสนามบินนานาชาติคันไซ (Kansai Int’l Airport)

สนามบินนานาชาติคันไซ (Kansai International Airport : KIX)
สร้างขึ้นใหม่เพื่อเป็นท่าอากาศยานปลายทางนานาชาติสำหรับภูมิภาคคันไซแทนสนามบินโอซาก้า (Osaka Airport : Itami) นอกจากนั้นยังเพื่อลดความแออัดที่สนามบินนาริตะ ซึ่งมีชั่วโมงให้บริการจำกัด ทว่ายังคงมีเที่ยวบินในประเทศบางเที่ยวออกจากอิตามิ (Itami) ซึ่งเป็นธรรมดาอยู่เองที่การต่อเครื่องบินระหว่างประเทศกับเครื่องบินภายในประเทศย่อมไม่สะดวกสบาย KIX เป็นสนามบินที่ใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่นและเป็นแห่งแรกที่เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง โดยเปิดใช้เมื่อวันที่ 4 กันยายน 1994

สนามบินตั้งอยู่บนเกาะเทียมในอ่าวโอซาก้าไปทางตะวันออกเฉียงใต้ห่างจากสถานีเจอาร์-โอซาก้า ราว 60 กิโลเมตร เป็นสนามบินที่แพงที่สุดแห่งหนี่งในโลก โดยเก็บภาษีขาออกถึง 2,600 เยน แต่มีสถาปัตยกรรมสวยงามน่ามอง ทั้งระบบดำเนินงานก็ยอดเยี่ยม การต่อขึ้นเครื่องภายในและนอกประเทศตั้งอยู่ในอาคารเดียวกัน และใช้เวลาไม่กี่นาที (ข้อควรทำ: อย่าลืมแจ้งยืนยันว่า การต่อเที่ยวบินในประเทศของคุณนั้นมาจาก KIX ไม่ใช่จากฮิตามิ) การเดินทางไป KIX ไม่ยาก มีรถไฟ 2 สาย, ทางด่วน 2 เส้นทาง, บัสลีมูซีนราว 10 สาย และเรือเฟอร์รี่ความเร็วสูง 4 ลำ วิ่งจากเกาะไปยังจุดต่างๆ ในคันไซคุณสามารถสอบถามข้อมูลการเดินทางได้ที่ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวคันไซ (Kansai Tourist Information Center) อยู่ที่ห้องโถงผู้โดยสารขาเข้า (1st Fl.) เปิดทำการทุกวัน เวลา 9.00 – 21.00 น. มีธนาคารรับแลกเปลี่ยนเงินตราสิบแห่งที่ท่าอากาศยาน โดยหนึ่งหรือสองแห่งนั้นเปิดบริการเวลา 6.00 – 23.00 น. คุณสามารถเปลี่ยนตั๋วเจแปนเรลพาส (Japan Rail Pass) ได้ตามสถานที่ดังต่อไปนี้ ได้แก่ เคาน์เตอร์ข้อมูลเขตตะวันตกของ JR (JR West infomation Counter) ซึ่งอยู่ที่ห้องผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ (International Arrivals Lobby,1st Fl.) ทุกวัน เวลา 8.00-20.00 น.,ศูนย์บริการท่องเที่ยว Tis (Tis-Travel Service Center) ทุกวันเวลา 10.00-18.00 น. หรือฝ่ายสำรองตั๋วมิโดริโนะมาโดงุจิ (Midori-no-madoguchi Reservations Ticket Office) ของสถานีรถไปท่าอากาศยานคันไซ JR (JR Kansai Airport Station) เปิดทุกวัน เวลา 5.30-24.00 น.

– ชาเขียว –

7 ก.ย.

เครื่องดื่มที่เป็นที่ติดอกติดใจผู้คนทุกวัย คงเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอย่างชาเขียว ไปที่ไหน เห็นแต่คนโน่นคนนั้นดื่มชาเขียวกันแทบทั้งสิ้น เพราะ มีประโยชน์จริงๆ มีวางขายเต็มท้องตลอดไปหมด ทั้งแบบสำเร็จรูป หรือแม้แต่ชาเขียวแบบบรรจุห่อขาวพร้อมแกะใส่กา เทน้ำร้อนดื่มได้ทันที ดังนั้น เราเลยไปค้นหาขั้นตอนและวิธีการชงชาเขียวแบบโบราณจากประเทศญี่ปุ่น มาให้เพื่อนๆ ได้รู้จักกัน เผื่อเพื่อนคนไหนสนใจจะได้ลองชงทานกันบ้าง ไม่ว่ากันนะ

มีข่าวดีสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ทุกคน ต่อไปก็ไม่ต้องทานยาเยอะ ๆ อีกต่อไปแล้ว เพราะเพียงการดื่มชา ก็สามารถยับยั้งการเกิดโรคอัลไซเมอร์

ดร. เอ็ด โอเคลโล่ แห่งศูนย์วิจัยสมุนไพร มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอังกฤษ พบว่า การดื่มชาเขียวหรือชาดำวันละ 1 ถ้วยทุกวัน จะสามารถยับยั้งการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ เพราะในชาเขียว และชาดำ มีสารที่ช่วยยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาของเอ็นไซม์ที่ก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์

นอกจากนี้การดื่มชาเขียวยังสามารถป้องกันการเกิดปฏิกิริยาเบต้า-ซีเครเทส (Beta-secretase) ที่เป็นขั้นตอนในการผลิตตะกอนโปรตีนในสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุของการป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ แต่จะต้องดื่มชาเขียวอย่างน้อย 1 อาทิตย์ถึงจะเห็นผลดี หากดื่มชาดำเพียงแค่ 1 วัน ก็สามารถเห็นผลได้เร็วกว่าการดื่มชาเขียวหลายเท่า

แม้แพทย์จะไม่สามารถรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายได้ แต่การดื่มชาก็สามารถยับยั้งและลดภาวะเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ รู้อย่างนี้แล้วลองหันมาดื่มชากันเถอะ แถมยังไม่มีผลเลียข้างเคียงอีกด้วย

สูตร 1 ชงชาเขียว แบบญี่ปุ่นโบราณ (Koshiki Ochakai)
ส่วนผสม และอุปกรณ์

ถ้วยชา (ทำจากเซรามิค)
ที่ตักชา (ทำจากไม้ไผ่)
แปรงคนชา (ทำจากไม้ไผ่)
ที่ตักน้ำหรือกระบวยชงชา (ทำจากไม้ไผ่)
โถน้ำ (สำหรับผสมน้ำร้อนกับน้ำเย็น)
ผ้าขาว
ผ้าแดง
ชาเขียวบดละเอียด

ขั้นตอนการชงชา
ขั้นแรกให้ทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ โดยนำไปล้างให้สะอาด
จากนั้นนำผ้าแดงสะอาดไปเช็ดอุปกรณ์ที่ล้างไว้ในตอนแรก อย่างเช่น ที่ตักชา แปรงคนชา และที่ตักน้ำ เพื่อให้อุปกรณ์ที่จะใช้สะอาดจริงๆ
ส่วนผ้าขาว ให้นำไปเช็ดถ้วยชาเท่านั้น
เพื่อเช็ดอุปกรณ์ต่างๆ เรียบร้อยแล้ว นำที่ตักชา ตักผงชาเขียว ลงในถ้วย ประมาณ 1 ช้อน
นำกระบวยตักน้ำ ลงไปตักน้ำอุ่นจัดที่ผสมไว้เรียบร้อยแล้วในโถผสมน้ำ เทลงไปในถ้วยดื่มชา
ใช้แปรงคนชา ลงไปคนให้ผงชาและน้ำเข้ากัน เป็นอันว่าเสร็จ
เสริฟร้อนๆ

แต่ถ้าให้เป็นแบบโบราณจริงๆ ก่อนดื่มชา ถ้าเป็นประเพณีดั้งเดิม แขกที่มาจะต้องทานขนมหวานเสียก่อน จากนั้นค่อยดื่มชาที่เจ้าบ้านยกมาให้
พูดถึงประเพณีการชงชาแบบโบราณนี้ ส่วนใหญ่ผู้หญิงญี่ปุ่นสมัยก่อนเท่านั้น ที่จะเป็นคนชงให้ และจำเป็นมากที่ต้องเรียนรู้การชงชาแบบโบราณนี้ เมื่อไว้สำหรับต้อนรับแขกคนสำคัญที่มาเยี่ยมเยียนถึงบ้าน และสามีอันเป็นที่เคารพ

ถ้าสนใจประเพณีนี้จริงๆ แล้วล่ะก้อ เห็นทีจะต้องไปเรียนการชงชาแท้แบบโบราณนี้ได้ที่ประเทศญี่ปุ่นโน้น

สูตร 2 ชงชาเขียว แบบสำเร็จรูป
การชงชาให้ได้รสชาตินั้น มีเคล็ดลับ ง่ายๆ ซึ่งหากทำไม่ ดีแล้ว สารโพลีฟีนอล ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ร่างกาย ก็อาจเป็นตัวทำลายรสชาติได้ โดยทำให้ชามีรสชาติเหมือนหญ้าไม่อร่อย ดังนั้นจึงไม่ควรต้มชานานเกิน ไป

ส่วนผสม

ชาเขียว 1 ถุง (หรือประมาณ 2-4 กรัม)
น้ำสะอาด 1 ถ้วย (1-2 ถ้วย ขึ้นอยู่กับชนิด ของชา)
ขั้นตอนการชงชา (3 ขั้นตอน ขั้นตอนละ 3 นาที)

ต้มน้ำให้เดือด จากนั้นยกกาน้ำลงจากเตา ทิ้งไว้ 3 นาที
เทน้ำร้อนลง บนถุงชา และแช่ถุงชาไว้ในน้ำร้อน 3 นาที
นำถุงชาออก ปล่อยให้ชาเย็นลงอีก 3 นาที
เสริฟได้ ดื่มตอนร้อนๆ เพื่อให้คุณค่า และหอมอร่อย
คำแนะนำ

ไม่ควรเติมน้ำตาล หรือสารให้ความหวาน ท่านจะไม่ได้รสชาติที่ดีของชาเขียว และอาจทำให้มีปัญหาน้ำหนักตัวเพิ่มด้วย
ต้มน้ำแต่พอเดือด รีบยกลง มิฉะนั้น กลิ่น “น้ำต้มสุก” จะรบกวนกลิ่นชาเขียวจนเสียรสชาติ การเลือกภาชนะต้มแบบสแตนเลส หรือแก้ว จะลดปัญหานี้ลงได้บ้าง
พิถีพิถันกับน้ำสะอาดที่นำมาชงชา และเวลาต้มน้ำ เวลาชงชา น้ำกรองจากเครื่องกรองน้ำชั้นดีอย่างอีสปริง ทำให้ได้ชาที่เป็นต้นฉบับธรรมชาติจริงๆ หากหาไม่ได้ อาจใช้น้ำจากเครื่องแบบอาร์โอคุณภาพสูง หรือจากน้ำอาร์โอบรรจุขวดยี่ห้อที่ไว้ใจได้ ก็ทดแทนได้ อย่าลืมว่าว่าการใช้น้ำฝน น้ำจากก๊อกทั่วไป หรือน้ำบาดาล อาจทำให้รสชาติเปลี่ยนไป

สูตร 3 ชงชาเขียว แบบผง
ส่วนผสม

ชาเขียว 0.5 ช้อนชา
น้ำสะอาด 1-2 แก้ว (ประมาณ 180-200 ซีซี/แก้ว)
ขั้นตอนการชงชา

ต้มน้ำ แล้วยกลงจากเตา รอสัก 3 นาที หรือผสมน้ำเดือดกับน้ำสะอาดพอเป็นน้ำอุ่นจัด อาจใช้น้ำใส่แก้วชา เข้าไมโครเวฟ ไฟ 100% นาน 45 วินาที ก็ได้
เติมน้ำร้อนลงแก้วเช็ค เติมชาเขียวครึ่งช้อนชา ปิดฝา เขย่าให้เข้ากัน 2-3 นาที
เปิดฝาแก้วเช็ค เทชาเขียวลงแก้ว ดื่มได้เลย
คำแนะนำ

น้ำที่เหมาะสำหรับการชงชาเขียวให้หอมคือน้ำอุ่น ค่อนข้างร้อน ประมาณว่า เมื่อชงแล้ว จะดื่มได้ทันทีไม่ต้องรอเย็น
ระวังแก้วชา หากจะเข้าไมโครเวฟ ต้องใช้แก้ว หรือภาชนะที่ใช้กับไมโครเวฟได้เท่านั้น

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับชาเขียว

ชาเขียวญี่ปุ่นจะต้องออกสีเขียวเท่านั้น ถ้าออกเป็นสีอื่นๆ ถือว่าไม่ใช่ชาที่ดี ยกเว้นชาเขียวที่นำไปคั่วให้มีรสชาติและสีเหมือนชาจีน
“กลิ่น” ของชาเขียว จะต้องหอมชื่นใจ ชาที่ดีจะทิ้งกลิ่นอยู่ในปากและลำคอเป็นเวลานาน
เวลาดื่มชาเขียวนั้น ควรจะทดลองด้วยการกลั้วที่ลิ้นก่อนค่อยกลืนลงคอ
การชงชาจะต้องใช้น้ำร้อนอุณหภูมิ 80 องศาC ไม่เช่นนั้นจะสูญเสียวิตามินซี
ชาดีจะมีรสชาติ หวาน-ขม-ฝาด นักชิมชาจะสามารถบอกได้ว่าชาตัวไหนดี เมื่อจิบชาแล้วรสเฝื่อนจะค่อย ๆ เคลื่อนไปตามลำคอ ถือเป็นชาที่ดี
ควรใช้แปรงชงชาตีให้เป็นฟองละเอียดจะได้ชาที่อร่อย เนื่องจากจะละลายเข้ากับน้ำได้ดี
สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มดื่มชาเขียว ก่อนดื่ม ควรกินขนมหวานสักชิ้นก่อน เพื่อจะทำให้รสชาติของชาเขียวที่ดื่มพอดีกลมกล่อม

Lady GaGa

26 ส.ค.

รู้จัักประเทศญี่ปุ่น

23 ส.ค.

รู้จัักประเทศญี่ปุ่น
ญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本 Nihon/Nippon นิฮง/นิปปง ) มีชื่อทางการคือประเทศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本国 Nihon-koku/Nippon-koku นิฮงโกะกุ/นิปปงโกะกุ ?) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือ ติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสก์ เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่าถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์ จึงทำให้บางครั้งถูกเรียกว่าดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย

ญี่ปุ่นมีเนื้อที่กว่า 377,930 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 61 ของโลก หมู่เกาะญี่ปุ่นประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 3,000 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดก็คือเกาะฮนชู ฮกไกโด คิวชู และ ชิโกกุ ตามลำดับ เกาะของญี่ปุ่นส่วนมากจะเป็นหมู่เกาะภูเขา ซึ่งในนั้นมีจำนวนหนึ่งเป็นภูเขาไฟ เช่นภูเขาไฟฟูจิ ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศ เป็นต้น ประชากรของญี่ปุ่นนั้นมีมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก คือประมาณ 128 ล้านคน เมืองหลวงของญี่ปุ่นคือกรุงโตเกียว ซึ่งถ้ารวมบริเวณปริมณฑลเข้าไปด้วยแล้วจะกลายเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีประชากรอยู่อาศัยมากกว่า 30 ล้านคน

สันนิษฐานว่ามนุษย์มาอาศัยในญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน พ.ศ. 2490

ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ โดยมีจีดีพีสูงเป็นอันดับสองของโลก ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ จี 8 โออีซีดีและเอเปค และมีความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของต่างประเทศ ญี่ปุ่นมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี และยังเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี เครื่องจักร และหุ่นยนต์

ญี่ปุ่นจะมีอากาศที่ไม่อบอุ่น จะหนาวจัดและร้อนจัดเปลี่ยนไปตลอดปี ในญี่ปุ่นจึงไม่มีภูเขาที่เขียวสดด้วยหญ้า พืชพันธุ์และต้นไม้ส่วนใหญ่จะต้องแข็งแรงทนต่อความร้อนจัดและหนาวจัดได้ดี ใบก็ต้องมีสีค่อนข้างดำ หรือคล้ำ หญ้าพุ่มไม้เตี้ย ๆ และไม้ไผ่มีมากและต่าง ๆ กัน แต่ทุ่งหญ้าและป่าเล็ก ๆ มีน้อย โดยเหตุนี้การกสิกรรมจึงเป็นงานยากลำบากซึ่งกสิกรถูกบังคับให้คำรงชีวิตอยู่ด้วยการทำงานหนัก ขยันขันแข็ง และมานาอดทน

ประชากรญี่ปุ่นประมาณร้อยละ 87 อาศัยอยู่ในตัวเมืองใหญ่ ๆ ของประเทศ ในจำนวนนี้มี 58 เปอร์เซ็นต์ รวมกันอยู่อย่างหนาแน่นในเขตที่รวมมหานคร 4 แห่ง อันประกอบไปด้วยจังหวัด 11 จังหวัด ที่อยู่รอบ ๆ โตเกียว โอซากา นาโงย่า และคิตะกิวชิว เมืองใหญ่ ขนาดกลางเช่น ซับโปโร เชนโต และฮิโรชิมา ก็ดึงดูดประชากรได้ไม่น้อย และเป็นเวลานานพอสมควรที่ผู้คนหลั่งไหลเข้าไปอยู่ที่ในเมืองใหญ่ ๆ โยเฉพาะคนหนุ่มสาวพากันละทิ้งบ้าน หมู่บ้านของตน อพยพเข้ามาสู่นครเพื่อแสวงหางานที่ดีกว่าเก่า และเพื่อพบกับความรื่นรมย์ของชีวิตที่สนุกสนานกว่า อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้เอง การเคลื่อนไหวของประชากรมาสู่เมืองใหญ่กลับยุติลงจำนวนคนที่เข้าสู่เขตสำคัญ ๆ ลดจำนวนลง แทนที่จะไปอยู่เขตใจกลางมหานครเหล้านั้น กลับไปอยู่ตามบ้านเล็ก เมืองน้อยรอบ ๆ นครหลวง

ครอบครัวญี่ปุ่นปัจจุบันมักประกอบด้วย พ่อ แม่ และลูก 1 หรือ 2 คน ถ้าเป็นในเมืองมักอยู่บ้านแบบสมัยใหม่ ญี่ปุ่นเป็นชาติที่มีจำนวนพลเมืองมาก ลูกที่แต่งงานแล้วมักแยกครอบครัวออกไป คู่สมรสส่วนมากต้องการมีบ้านเป็นของตนเอง ราคาบ้านแพงมากอีกหลายครอบครัวจึงต้องอยู่บ้านเช่าหรือบ้านพักของริษัทที่ตนทำงานด้วย

ปัจจุบันผู้หญิงญี่ปุ่นออกทำงานหาเลี้ยงชีพด้วย แต่พอแต่งงานหรือมีลูกก็จะออกจากงานมาทำงานบ้านเต็มตัว อายุเฉลี่ยของการแต่งงานมีครอบครัวของคนญี่ปุ่น คือ ชาย 28 ปี หญิง 23.5 ปี ภรรยาคือแม่บ้าน โดยทั่วไปครอบครัวญี่ปุ่นไม่มีสาวใช้ช่วยทำงาน ถ้าทั้งสามีและภรรยาทำงานนอกบ้าน ภรรยาก็มักต้องทำงานบ้านมากกว่าสามี แม้จะเป็นคู่สมรสหนุ่มสาวที่มีความคิดทันสมัย ต้องการแบ่งงานบ้านทำให้เท่า ๆ กันก็ตาม สังคมญี่ปุ่นจะไม่ส่งเสริมให้แม่ของลูกต้องทำงานนอกบ้าน สถานรับเลี้ยงเด็กก็มีน้อย

การจ่ายค่าจ้างในญี่ปุ่นมักจ่ายเป็นรายเดือน ภรรยาจะเป็นผู้ดูแลการเงินของครอบครัว และจ่ายเงินส่วนหนึ่งให้สามีไปทำงานทั้งสามีและภรรยามักมีเงินเก็บ ที่เฉพาะของตนไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้เพื่อความสะดวกในการใช้จ่ายส่วนตัว

นักธุรกิจมักทำงานจนมืดค่ำ หรือชักชวนกันดื่มกินหลังงานเลิกในวันธรรมดาพ่อบ้านจึงมักไม่ค่อยได้อยู่บ้านกินอาหารเย็นกับครอบครัว พ่อบ้านที่ถูกบริษัทส่งไปทำงานที่ต่างเมือง จะยิ่งมีโอกาสอยู่กับครอบครัวน้อยลง ครอบครัวจะไม่ย้ายตามไปบ่อย ๆ เพราะไม่เป็นผลดีแก่การศึกษาของลูก ถ้าต้องเปลี่ยนโรงเรียนอยู่เรื่อย ๆ สามีภรรยามักไม่ค่อยพูดคำว่ารัก หรือคำหวานต่อกันนัก เมื่อสามีออกจากบ้านไปทำงานหรือกลับจากทำงานเข้าบ้าน ภรรยามักโค้งให้ไม่ใช้ประเพณีจูบลาและจูบรับขวัญแบบฝรั่ง

ชาวญี่ปุ่นเมื่อพูดถึงสมาชิกในครอบครัว มักพูดถึงอย่างถ่อม ๆ เพราะถึงแม้ความจริงจะรู้สึกภาคภูมิใจในสมาชิกครอบครัวของตนแต่ก็ไม่อยากให้ใครมองเป็นว่าต้องการโอ้อวด

คนทำงานส่วนใหญ่จะเกษียณเมื่ออายุ 55 หรือ 60 ปี แม้จะได้เงินบำนาญ แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังหางานอื่นทำต่อ อาจทำเพื่อเงินหรือทำเพราะไม่รู้จะใช้เวลาว่างอย่างไรดี หลาย ๆ ครอบครัวต้องการให้ลูกชายคนโตอยู่กับตนตลอดไป จนแม้เมื่อแต่งงานแล้วนั้น เพราะลูกชายคนโตคือผู้สืบทอดตระกูลหรือผู้รับมรดก ถึงแม้ปู่ย่าตายายจะไม่ได้อยู่เป็นประจำกับลูกหลานของตน คู่สมรสก็จะให้เวลากับพ่อแม่ของตนอยู่มาก จะพยายามไปเยี่ยมไปเยียนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง คือ ในเทศกาลโอบัง ในหน้าร้อน และตอนเทศกาลปีใหม่ แม้บ้านชาวญี่ปุ่นโดยทั่วไปจะเล็กเกินกว่าปู่ย่าตายายจะอยู่ร่วมด้วยได้ คู่สมรสก็มักต้องได้อยู่ใกล้ ๆ พ่อแม่ของตน

Tools Swee Pack

20 ส.ค.

Tools Swee Pack.

อักษรญี่ปุ่น

20 ส.ค.

ตารางอักษรและเสียงพื้นฐาน
A (อะ) 「あ」
I (อิ) 「い」
U (อุ) 「う」
E (เอ๊ะ) 「え」
O (โอ๊ะ) 「お」
Ka (คะ) 「か」
Ki (คิ) 「き」
Ku (คุ) 「く」
Ke (เค๊ะ)「け」
Ko (โค๊ะ) 「こ」
Sa (สะ)「さ」
Shi (สชิ)「し」
Su (สุ)「す」
Se (เส๊ะ)「せ」
So (โส๊ะ)「そ」
Ta (ทะ)「た」
Chi (ทชิ)「ち」
Tsu (ทซุ)「つ」
Te (เท๊ะ)「て」
To (โท๊ะ)「と」
Na (นะ)「な」
Ni (นิ)「に」
Nu (นุ)「ぬ」
Ne (เน๊ะ)「ね」
No (โน๊ะ)「の」
Ha (ฮะ)「は」
Hi (ฮิ) 「ひ」
Hu (ฟฮุ)「ふ」
He (เฮ๊ะ)「へ」
Ho (โฮ๊ะ)「ほ」
Ma (มะ)「ま」
Mi (มิ)「み」
Mu (มุ)「む」
Me (เม๊ะ)「め」
Mo (โม๊ะ)「も」
Ya (ยะ)「や

Yu (ยุ)「ゆ」

Yo (โย๊ะ)「よ」
Ra (ระ)「ら」
Ri (ริ)「り」
Ru (รุ)「る」
Re (เร๊ะ)「れ」
Ro (โร๊ะ)「ろ」
Wa (วะ)「わ」



O (โว๊ะ)「を」
N (อื้ม)「ん」




ตารางเสียงขุ่นและเสียงกึ่งขุ่น
Ga (งะ)「が」
Gi (งิ)「ぎ」
Gu (งุ)「ぐ」
Ge(เง๊ะ)「げ」
Go(โง๊ะ)「ご」
Za (ซะ)「ざ」
Ji (จิ)「じ」
Zu(ซุ)「ず」
Ze (เซ๊ะ)「ぜ」
Zo (โซ๊ะ)「ぞ」
Da (ดะ)「だ」
Ji (จิ)「ぢ」
Zu (ซุ)「づ」
De (เด๊ะ)「で」
Do (โด๊ะ)「ど」
Ba (บะ)「ば」
Bi (บิ)「び」
Bu (บุ)「ぶ」
Be (เบ๊ะ)「べ」
Bo (โบ๊ะ)「ぼ」
Pa (พะ)「ぱ」
Pi (พิ)「ぴ」
Pu (พุ)「ぷ」
Pe (เพ๊ะ)「ぺ」
Po (โพ๊ะ)「ぽ」

วันสำคัญของญี่ปุ่น

19 ส.ค.

1.วันแห่งภาพยนตร์ (映画の日 : Eiga No Hi) ตรงกับวันที่ 1 ของทุกๆเดือน สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนไปดูภาพยนตร์

2. วันแห่งการจราจรปลอดภัย (交通安全の日 : Koutsuu Anzen No Hi) ตรงกับวันที่ 1 ของทุกๆเดือน สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนขับรถอย่างปลอดภัย ไม่ขับรถด้วยความเร็ว

3. วันแห่งข้าว (お米の日 : Okome No Hi) ตรงกับวันที่ 8 และ 28 ของทุกๆเดือน สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : ระลึกถึงข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวญี่ปุ่น

4. วันแห่งความรัก , ความปรารถนา และความกล้าหาญ (愛と希望と勇気の日 : อ่านว่า Ai To Kibou To Yuuki No Hi) ตรงกับวันที่ 14 มกราคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: เมื่อ 14 มกราคม 1959 เป็นวันที่เฮลิคอปเตอร์ที่บินออกจากเรือสังเกตุการณ์ขั้วโลกใต้ที่ชื่อ Souya (宗谷) ได้บินจอดถึงฐานทัพโชวะ และพบว่าสุนัขทหารที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ที่ฐานทัพเมื่อปีก่อนหน้าจำนวน 15 ตัว มีชีวิตรอเพียง 2 ตัว คือสุนัขชื่อ ทาโร่ และ จิโร่ (タロ・ジロ)

5. วันแห่งแกงกะหรี่ (カレーの日 : Curry No Hi) ตรงกับวันที่ 22 มกราคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนทำและรับประทานแกงกะหรี่

6. วันแห่งการปวดหัว (頭痛の日 : Zutsuu No Hi) ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ไม่ให้คนทำอะไรมากเกินไปจนปวดหัว

7.วันแห่งชาเขียว (抹茶の日 : Maccha No Hi) ตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนดื่มชาเขียวเพื่อสุขภาพ

8. วันแห่งนามสกุล (苗字の日 : Myouji No Hi) ตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: เป็นที่ระลึกสำหรับการเริ่มใช้นามสกุลเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ปีเมจิที่ 8

9. วันวาเลนไทน์ (バレンティンディー : Valentine’s Day) และ วันแห่งชอกโกแล็ต (チョコレートの日 : Chocolate No Hi) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: เป็นวันที่สืบทอดมาจากต่างประเทศ ที่หนุ่มสาวจะให้ของขวัญแก่กันเพื่อแสดงความรัก สำหรับในญี่ปุ่น เป็นวันที่ผู้หญิงจะให้ชอกโกแล็ตแก่ผู้ชายเพื่อแสดงความรัก ซึ่งแพร่หลายขึ้นมาจากการโฆษณาของบริษัทผลิตชอกโกแล็ตของญี่ปุ่น สมาคมชอกโกแล็ตและโกโก้ (チョコレート・ココア協会) จึงบัญญัติวันนี้ขึ้นมาเป็นวันแห่งชอกโกแล็ตด้วย

10. วันแห่งแมว (猫の日 : Neko No Hi) ตรงกับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: เนื่องจากแมวที่ญี่ปุ่นร้องว่า ニャー、ニャー、ニャー ขึ้นต้นด้วยคันจิที่เหมือนกับเลข 2 ด้วยกัน 3 อัน วางเรียงกันได้เป็น 222 ซึ่งแปลงเป็นวันที่ได้วันที่ 2/22

11. วันแห่งบันไดเลื่อน (エスカレータの日 : Escalator No Hi) ตรงกับวันที่ 9 มีนาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: เป็นวันแรกที่มีการใช้บันไดเลื่อนขึ้นที่ห้างมิตสึโกชิ (三越) สาขา นิฮงบาชิ (日本橋) ในวันที่ 9 มีนาคม ปีไทโช ที่ 3

12. วันสีขาว (ホワイトディー : White Day) และ วันแห่งลูกกวาด (キャンディの日 : Candy No Hi) ตรงกับวันที่ 14 มีนาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: เป็นวันที่มีคู่กับวันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันที่ผู้ชายให้ของตอบแทนแก่ผู้หญิงที่ให้ชอกโกแล็ตกับตนในวันวาเลนไทน์ โดยสิ่งของที่ให้จะต้องเป็นสีขาว ทางสมาคมลูกกวาดแห่งประเทศญี่ปุ่น (全国飴菓子工業協同組合) ต้องการรณรงค์ให้คนให้สิ่งของเป็นลูกกวาด จึงตั้งวันนี้เป็นวันแห่งลูกกวาด (キャンディの日)

13. วันแห่งซากุระ (さくらの日 : Sakura No Hi) ตรงกับวันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: สมาคมซากุระแห่งประเทศญี่ปุ่น (日本さくらの会) ตั้งวันนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับการบานของดอกซากุระ ที่โดยเฉลี่ยจะบานเต็มที่ในวันนี้มากที่สุด

14. วันแห่งกระเทย (オカマの日 : อ่านว่า Okama No Hi) ตรงกับวันที่ 4 เมษายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: เป็นวันที่อยู่ระหว่างกลางของวันเทศกาลลูกท้อ (桃の節句 : Momo No Sekku) เป็นวันสำหรับเด็กผู้หญิง ซึ่งคือวันที่ 3 มีนาคม (3/3) และวันเทศกาลเด็กผู้ชาย (端午の節句 : Tango No Sekku) ซึ่งคือวันที่ 5 พฤษภาคม (5/5) จึงตั้งวันที่อยู่กึ่งกลางนั่นคือวันที่ 4 เมษายน (4/4) เป็นวันสำหรับคนครึ่งหญิงครึ่งชาย นั่นคือกระเทย (คำว่า Okama แปลว่า กระเทย)

15. วันแห่งเซนต์จอร์ดี้ (サン・ジョルディの日 : St.Jordi’s Day) ตรงกับวันที่ 23 เมษายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: เป็นวันที่ผู้ชายให้ดอกกุหลาบแก่ผู้หญิง และผู้หญิงให้หนังสือเป็นของขวัญแก่ผู้ชาย ซึ่งเกิดขึ้นจากความเคลื่อนไหวของวงการสิ่งพิมพ์เมื่อปี 1987 โดยมีที่มาจากประเพณีของประเทศสเปน ในย่านบาร์เซโลน่า เพื่อต้องการชื่นชมนักรบเทพผู้ปกป้องเมืองชื่อ เซนต์ จอร์ดี้ ด้วยประเพณีที่ผู้ชายให้ดอกกุหลาบแก่ผู้หญิง และผู้หญิงให้ของแก่ผู้ชาย
16. วันแห่งขยะ (ゴミの日 : Gomi No Hi) ตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนทิ้งขยะโดยแยกชนิดของขยะอย่างถูกต้อง

17. วันแห่งนาโกย่า (名古屋の日 : Nagoya No Hi) ตรงกับวันที่ 8 พฤษภาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : ที่ทำการเมืองนาโกย่าตั้งวันนี้ขึ้นมาเมื่อปี เฮเซ ที่ 8 เป็นช่วงเทศกาลนาโกย่า (名古屋祭り)

18. วันแห่งการท่องเที่ยว (旅の日 : Tabi No Hi) ตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : ส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น

19. วันแห่งรูปถ่าย (写真の日 : Shashin No Hi) ตรงกับวันที่ 1 มิถุนายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: สมาคมรูปถ่ายแห่งประเทศญี่ปุ่น (日本写真協会) ตั้งวันนี้ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการถ่ายรูป

20. วันแห่งนม (ミルクの日 : Milk No Hi) ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนดื่มนม

21. วันแห่งอุด้ง (うどんの日 : Udon No Hi) ตรงกับวันที่ 2 กรกฏาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนรับประทานอุด้ง

22. วันแห่งเรือเหาะตีลังกา (ジェットコースターの日 : Jet Coaster No Hi) ตรงกับวันที่ 9 กรกฏาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: เป็นวันแรกที่มีเรือเหาะตีลังกาติดตั้งในสวนสนุกที่ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 9 กรกฏาคม ปีโชวะที่ 30

23. วันแห่งแฮมเบอร์เกอร์ (ハンバーガーの日 : Hamberger No Hi) ตรงกับวันที่ 20 กรกฏาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: 20 กรกฏาคม ปีโชวะที่ 46 เป็นวันแรกที่มีร้าน แมคโดนัล เปิดขึ้นในญี่ปุ่น ที่ชั้นหนึ่งของห้างมิทสึโกชิ (三越) ในย่านกินซ่า

24. วันแห่งหมากรุกญี่ปุ่น (マージャンの日 : Majyan No Hi) ตรงกับวันที่ 1 สิงหาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนเล่นหมากรุกญี่ปุ่น (麻雀)

25. วันแห่งคนอ้วน (デブの日 : Debu No Hi) ตรงกับวันที่ 8 สิงหาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เป็นวันที่ระลึกสำหรับคนอ้วน

26. วันแห่งเนื้อย่าง (焼肉の日 : Yakiniku No Hi) ตรงกับวันที่ 29 สิงหาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: รณรงค์ให้คนทานเนื้อย่าง ตั้งโดยสมาคมเนื้อย่างแห่งประเทศญี่ปุ่น (全国焼肉協会)

27. วันแห่งผัก (野菜の日 : Yasai No Hi) ตรงกับวันที่ 31 สิงหาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนทานผัก

28. วันเกิดโดราเอม่อน (ドラえもんの誕生日 : Doraemon No Tanjyoubi) ตรงกับวันที่ 3 กันยายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: เป็นวันแรกที่การ์ตูนเรื่องโดราเอม่อนถูกเขียนขึ้นมาเมื่อวันที่ 3 กันยายน ปีโชวะที่ 45

29. September Valentine’s Day (セプテンバーバレンタイン) ตรงกับวันที่ 14 กันยายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: วันครบครึ่งปีพอดีหลังจากวัน White Day (14 มีนาคม) ซึ่งหากผู้ชายถูกผู้หญิงที่ตนตกลงยอมรับความรักแล้วเลิกในวันนี้ ก็จะถือว่าไม่เป็นอะไร

30. วันแห่งเหล้าญี่ปุ่น (日本酒の日 : Nihonshu No Hi) ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : รณรงค์ให้คนดื่มเหล้าญี่ปุ่น

31. วันแห่งสุนัข (犬の日 : Inu No Hi) ตรงกับวันที่ 1 พฤศจิกายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : ส่งเสริมให้คนรักและระลึกถึงสุนัข

32. วันแห่งอพาร์ตเม้นท์ (アパートの日 : Apartment No Hi) ตรงกับวันที่ 6 พฤศจิกายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: 6 พฤศจิกายน ปีเมจิที่ 43 เป็นวันแรกที่มีอพาร์ตเม้นท์ตั้งขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ในย่านอุเอโนะ (上野) ในโตเกียว

33. วันป๊อกกี้และปริทซ์ (ポッキー&プリッツの日 : Pocky&PRETZ No Hi) ตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: กูลิโกะ บริษัทผลิต ป๊อกกี้และปริทซ์ ตั้งวันป๊อกกี้และปริทซ์ ขึ้นมาเมื่อ ปีเฮเซที่ 11 เดือน 11 วันที่ 11 หากนำวันและเดือนและปี มาเขียนเรียงติดกัน ก็จะได้เป็น 111111 ซึ่งเหมือนกับแท่งป๊อกกี้และปริทซ์ 6 แท่ง ในโฆษณาของป๊อกกี้เอง ก็มีการโชว์แท่งป๊อกกี้ 4 แท่งในมือของพรีเซนเตอร์ด้วย (เพราะว่าปีเฮเซที่ 11 เลยมาแล้ว) จุดประสงค์ที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา คงไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากการส่งเสริมการขายป๊อกกี้ มีการจัดแคมเปญต่างๆเกี่ยวกับป๊อกกี้และปริทซ์ในวันที่11/11 ของทุกๆปีด้วย

34. วันแห่งโรงแรม (ホテルの日 : Hotel No Hi) ตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: 20 พฤศจิกายน ปีเมจิที่ 23 เป็นวันแรกที่ Teikoku Hotel (帝国ホテル) โรงแรมแห่งแรกในญี่ปุ่นเปิดให้ใช้บริการ

35. วันแห่งไก่ทอด (フライドチキンの日 : Fried Chicken No Hi) ตรงกับวันที่ 21 พฤศจิกายน ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา
: 21 พฤศจิกายน ปีโชวะที่ 45 เป็นวันแรกที่มีร้านไก่ทอด เคนตักกี้ เปิดในญี่ปุ่น ที่นาโกย่า

36. วันแห่งโซบะ (そばの日 : Soba No Hi) ตรงกับวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี สาเหตุที่ตั้งวันนี้ขึ้นมา : เนื่องจากชาวญี่ปุ่นมีประเพณีการทานโซบะข้ามปี (年越しそば : Toshikoshi Soba) จึงบัญญัติวันนี้ขึ้นเป็นวันรณรงค์การทานโซบะ

มองวัฒนธรรมญี่ปุ่นในสังคมไทย

19 ส.ค.

ณ ปัจจุบัน วัฒนธรรมความเป็นญี่ปุ่นในสังคมไทยนั้นปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป และมีรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสื่ออย่างละครและภาพยนตร์ เกม การ์ตูนญี่ปุ่น เพลง การแต่งกาย อาหาร สินค้านำเข้า วรรณกรรม ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ เรียกได้ว่าแทบทุกด้านของชีวิต
โฮโดอิงค์ (คณะผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยผู้บริโภคของญี่ปุ่น) ได้ระบุผลวิจัยวัยรุ่นไทยว่าเปิดรับวัฒนธรรมญี่ปุ่น และให้ความนิยมสินค้าญี่ปุ่น เหตุเพราะความทันสมัยเป็นหลัก และเชื่อในความเป็นผู้นำด้านแฟชั่น ความคิด และเทคโนโลยี
ศาสตราจารย์รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยอธิบายเอาไว้ว่า สินค้าวัฒนธรรม หมายถึง สินค้าที่มีวัฒนธรรมฝังตัวในสินค้าหรือบริการ ดังนั้นเหตุผลของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าเหล่านั้น ก็ด้วยความแตกต่างของนัยทางวัฒนธรรมที่ฝังตัวอยู่ในสินค้า ฉะนั้นกระแสคลั่งวัฒนธรรมญี่ปุ่นจึงได้เริ่มเข้ามาในสังคมไทยในช่วงหลังทศวรรษที่ 1980 เห็นได้จากละครโทรทัศน์ชุด “โอชิน” ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนั้น
รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “Japanization” หรือ กระบวนการกลายเป็นญี่ปุ่น ซึ่งคำนี้มักใช้อธิบายถึงกระบวนการผลิต การสร้างรูปแบบองค์กรแบบญี่ปุ่น ซึ่งเป็นมุมมองทางด้านเศรษฐกิจ แต่ในบริบทของสังคมไทย คำๆนี้ได้กินความหมายไปถึงอิทธิพลของญี่ปุ่นในมุมมองทางด้านสังคมและวัฒนธรรมด้วย
จากงานวิจัยเรื่องกระบวนการ “JAPANIZATION” ในสังคมไทย: การบริโภคสินค้าวัฒนธรรมญี่ปุ่นและผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคชาวไทย ของ ศาสตราจารย์ ดร.โนริยูกิ ซูซูกิ และพีริยา หวังโภคาลกุล (Graduate School of the Humainities and Social Scieces, University of the Ryukyus, Japan) พบว่าการ์ตูนเป็นจุดเริ่มต้นในการรู้จักและชื่นชอบวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยได้สัมผัสและบริโภคสินค้าวัฒนธรรมญี่ปุ่นในรูปแบบที่หลากหลาย กลุ่มคนเหล่านี้ไม่คิดว่าวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่รับเข้ามาปรับใช้ให้เข้ากับสไตล์ของตนเองนั้นจะส่งผลในด้านลบ
นอกจากนี้บทบาทของสื่อและผู้ผลิตอุตสาหกรรมสินค้าวัฒนธรรมที่หันมาให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว ทั้งยังมีการปรับวัฒนธรรมญี่ปุ่นให้เข้ากับผู้บริโภคชาวไทย โดยใช้กระแสความนิยมวัฒนธรรมญี่ปุ่นเข้ามาเป็นจุดขายให้กับสินค้า

รูปแบบวัฒนธรรมญี่ปุ่นในประเทศไทย
สินค้าญี่ปุ่น
สินค้าญี่ปุ่นได้รับความนิยมจากตลาดวัยรุ่นไทยมากกว่าสินค้าจากอเมริกาและยุโรป ยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญทางการตลาดสามารถระบุได้ชัดจนว่า มูลค่าของสินค้าญี่ปุ่นนั้น มีมหาศาลเพียงใดเพราะภาพของสินค้าเหล่านั้นไม่ชัดเจน และยังมีสินค้าที่ทำเลียนแบบอยู่เป็นจำนวนมาก
สินค้าใกล้ตัวอย่างตุ๊กตา ตั้งแต่วีรบุรุษจนถึงตุ๊กตาน่ารักที่เด็กไทยเล่นกันนั้น ก็เห็นแต่ โปเกมอน โดราเอมอน อุลตราแมนไอ้มดแดง คิตตี้ เซเลอร์มูน ซึ่งล้วนแต่เป็นการ์ตูนนำเข้าญี่ปุ่นทั้งสิ้น กระนั้นก็ตามสินค้าเหล่านี้ไม่ได้มีในรูปแบบของตุ๊กตาน่ารักเท่านั้น สินค้าเหล่านี้ได้รับการพัฒนาไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายที่เด็กๆต้องใช้ในการเรียน ชีวิตประจำวัน และการสร้างความสนุกสนาน เช่น กล่องดินสอ กล่องข้าว แปรงสีฟัน เป็นต้น ซึ่งแม้แต่ผู้ใหญ่ก็ยังนำมาใช้ด้วยเช่นกัน
ส่วนในวัยรุ่นนั้นสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามเห็นจะเป็น คอมพิวเตอร์เกม เครื่องเล่นเกมต่างๆ รวมไปถึงหนังสือการ์ตูน ซีดีเพลง (ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อสื่อบันเทิง) และในกลุ่มของนักศึกษา คนวัยทำงานนั้น เครื่องเสียงเทคโนโลยีสูง เครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่ก็เป็นของผู้ผลิตญี่ปุ่นแทบทั้งสิ้น
คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่า ที่บ้านไม่มีสินค้าของญี่ปุ่นเลยแม้แต่ชิ้นเดียว รวมไปถึงบ้านของข้าพเจ้าเอง ซึ่งทั้งตู้เย็น เตาอบ หรือแม้กระทั่งเครื่องซักผ้า ก็ยังตีตราสินค้าญี่ปุ่น โดยส่วนตัวแล้วข้าพเจ้าก็ไม่ได้ยึดติดในยี่ห้อ เพียงแต่คิดว่าเมื่อเทียบราคาสินค้าในประเภทเดียวกันแล้ว สินค้าญี่ปุ่นนั้นราคาถูกกว่าสินค้าของประเทศอื่นๆ(ยกเว้นจีน) และคุณภาพของสินค้าอยู่ในระดับที่รับได้และสมราคา อีกทั้งญี่ปุ่นมีกลยุทธ์ทางการตลาดที่น่าสนใจ เป็นต้นว่า การทำสินค้าให้มีความน่าสนใจ น่าใช้งานมากกว่าสินค้าประเภทเดียวกันของชาติอื่นๆ
ข้าพเจ้าได้อ่านนิตยสารเซเวนทีน ฉบับเดือนกันยายน ซึ่งนำเสนอเกี่ยวกับกระปุกออมสินจกญี่ปุ่น ซึ่งมีหน้าปัดดิจิตอลบอกจำนวนเงินที่เรามีอยู่ในกระปุก และสามารถตั้งค่าได้ว่าเราจะออมตั้งแต่เมื่อไรถึงเมื่อไรอีกด้วย นับว่าเป็นการเพิ่มมูลค่าอย่างยิ่งยวด จากกระปุกออมสินธรรมดาราคา 99 บาท เป็นกระปุกออมสินราคาหลายพันบาทได้เลยทีเดียว

อาหารญี่ปุ่น
หากท่านตัดสินใจว่าไปรับประทานอาหารกลางวันที่ร้านชาบูชิ (เป็นร้านซูชิเวียน)แถบย่านสยามสแควร์ ซึ่งแถบนั้นมี 5 สาขาด้วยกัน ข้าพเจ้าบอกได้คำเดียวว่าท่านคิดผิด เพราะที่นั่งของทุกสาขานั้นจะเต็มหมด และยังมีผู้รอคอยความหวังกับซูชิเวียนมื้อนั้นเข้าคิวรอคอยเป็นจำนวนมากในขณะร้านอาหารของชาติอื่น เช่น เคเอฟซี แมคโดนัลล์ หรือแม้แต่ร้านก๋วยเตี๋ยวของบ้านเรานั้นไม่ยักกะมีคนมารอคิวยาวเป็นหางว่าวบ้างเลย คงจะเห็นภาพได้ชัดกระมังว่า อาหารญี่ปุ่นนับได้รับความนิยมอย่างมากเพียงใดในประเทศไทย
สาเหตุที่อาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมชมชอบนั้นมาจาก การที่อาหารญี่ปุ่นนั้นมีการจัดตกแต่งได้อย่างสวยงาม มีสีสันน่ารับประทาน อีกทั้งทานแล้วไม่กระเทือนต่อน้ำหนักตัวของสาวๆเท่าไหร่นัก (แม้แต่ดาราระดับฮอลลีวูดยังแนะนำ) และอีกกระแสหนึ่งกล่าวว่า การที่กระแสญี่ปุ่นกำลังมาแรง มีการประโคมสื่อหลอกหล่อให้ผู้คนหันไปบริโภคอาหารญี่ปุ่น โดยมีสโลแกนว่า สะอาด ได้คุณภาพ ได้สุขภาพ เหล่านี้กระมังที่ดึงดูดคนไทยไปจากต้มยำกุ้ง
แต่ข้าพเจ้าคิดว่ากระแสดังกล่าวยังไม่รุนแรงถึงขนาดกระทบกระเทือนต่อตลาดอาหารไทย ทั้งนี้ ตัวอย่างเรื่องร้านชาบูชิที่ข้าพเจ้าได้ยกมาข้างต้นนั้นเป็นเพียงแค่ภาพของคนในเมืองหลวงเท่านั้น (แม้กระทั่งตลาดนัดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ยังมีร้านซูชิ) เพราะตามต่างจังหวัดนั้นร้านอาหารแบบนี้ยังไม่ค่อยลุกลามเข้าถึง อย่างเช่นในตัวเมืองนครราชสีมาซึ่งเป็นบ้านของข้าพเจ้านั้น มีร้านอาหารญี่ปุ่นไม่ถึง10 ร้าน และหากฐานะทางการเงินไม่ถึงพร้อมก็จะไม่สามารถเข้าถึงอาหารญี่ปุ่นได้เช่นกัน

การแต่งกาย
Cosplay ลักษณะการเลียนแบบการแต่งกายและบุคลิกของตัวการ์ตูนหรือดารานักร้องญี่ปุ่นนั้นได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น ภาพที่พบเห็นอยู่เป็นประจำในย่านสยามแสควร์ คือ แทบไม่มีวัยรุ่นคนใดเลยที่แต่งตัวเหมือนกันเลย วัยรุ่นที่นิยมญี่ปุ่น จะสวมเสื้อผ้าที่เหมือนหลุดออกมาจากนิตยสารญี่ปุ่น บางคนก็พยายามทำตัวที่เรียกว่า “คิขุ” แบบเด็กญี่ปุ่น (ทั้งที่หน้าไม่ให้) เช่น นุ่งกระโปรงสั้นลายสก็อต สวมรองเท้าส้นหนา ถุงเท้ายาว ติดกิ๊ปตัวโตบนศีรษะ เป็นต้น
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าปัจจุบันการแต่งตัวของวัยรุ่นไทยมีความเป็นไปในลักษณะตะวันออกสูงมาก จนแทบแยกไม่ออกว่าคนไหนไทยคนไหนญี่ปุ่น จะดูออกก็ต่อเมื่อมองหน้าตาเท่านั้น

สื่อบันเทิง
การ์ตูน
มังงะ (漫画)พัฒนามาจากการรวมกันระหว่าง อุกิโยะเอะ(浮世絵) กับการเขียนภาพแบบตะวันตก ถือกำเนิดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
มังงะ นั้นมีความหมายใกล้เคียงกับกับคำว่า คอมมิกส์ (Comic) ของอเมริกัน แต่ มังงะนั้นมีความสำคัญกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นมากว่าที่ คอมมิกส์ มีความสำคัญกับวัฒนธรรมอเมริกัน ในญี่ปุ่นนั้น มังงะได้รับการยกย่องให้เป็นทั้งศิลปะ และวรรณกรรมสมัยใหม่ ในขณะที่ คอมมิกส์ ไม่ใช่
ในประเทศไทยนั้นหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น มีที่มาจากการที่นักเขียนท่านหนึ่งบังเอิญไปพบหนังสือการ์ตูนเล่มหนาที่ร้านหนังสือเก่า โดยในเล่มมีการ์ตูนเรื่อง หุ่นอภินิหาร ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมทางโทรทัศน์ในขณะนั้น อยู่ด้วยกันหลายหน้า แต่เนื่องจากมีจำนวนไม่มากพอสำหรับตีพิมพ์เป็นเล่มการ์ตูนไทย นักเขียนท่านนั้นจึงจัดการแต่งเรื่องขึ้นมาใหม่โดยที่ยังคงลักษณะของตัวละครตามหนังสือที่ซื้อมา เมื่อวางตลาดแล้วแล้วปรากฏว่ามียอดขายดีมาก จึงทำให้มีนักเขียนคนอื่นๆพากันทำตาม (จุลศักดิ์ อมรเวช, 2544. หน้า 447)
ปัจจุบันอัตราการเจริญเติบโตของหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นในประเทศไทยนั้น นับได้ว่าเป็นผู้ครองตลาดอันดับหนึ่งเลยทีเดียว โดยมีสำนักพิมพ์ใหญ่ๆเช่น วิบูลย์กิจ คอมมิกส์ สยามอินเตอร์ คอมมิกส์ และบงกชคอมมิกส์ ฯลฯ เป็นผู้จัดจำหน่าย และในแต่ละเดือนมียอดรวมกันกว่า 1,000 รายการ (เพชรรัตน์ ภักดี, 2547. เว็บไซต์) แสดงให้เห็นว่า การ์ตูนญี่ปุ่นได้รับความนิยมอย่างมาก และขณะนี้มีการนำวรรณกรรมไทยมากวาดให้มีลักษณะเหมือนกับการ์ตูนญี่ปุ่น เช่น ไกรทอง พระอภัยมณี ฯลฯ
จากผลการวิจัยของ ชุติมา ธนูธรรมทัศน์ ซึ่งมาจากส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2546 พบว่า แก่นความคิดของการ์ตูนโดยส่วนใหญ่จะแสดงออกถึงความมานะพยายามของตัวละครที่ต้องการบรรลุสิ่งที่มุ่งหวังด้วยความอดทนและขยันหมั่นเพียรอันเป็นลักษณะเด่นของวัฒนธรรมญี่ปุ่น รวมไปถึงค่านิยมที่เป็นลักษณะเฉพาะของชาวญี่ปุ่น เช่น สำนึกของความเป็นกลุ่ม ความมานะ มีระเบียบวินัย ส่วนสิ่งที่เปลี่ยนไปจากแบบดั้งเดิม ได้แก่ ค่านิยมที่จัดอันดับสูงต่ำจากความสามารถแมนอาวุโสและค่านิยมในความเป็นปัจเจกที่มากขึ้น
ผลจาการรับเอาวัฒนธรรมการอ่านการ์ตูนนั้น ถึงแม้จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความรู้หรือศีลธรรมผ่านหนังสือการ์ตูนที่แต่งโดยคนไทย(ซึ่งเลียนแบบรูปแบบจากญี่ปุ่น) แต่การแสดงออกมาในรู้แบบของพฤติกรรมของวัยรุ่นที่เริ่มมีแนวโน้มในการแสดงพฤติกรรมหรือใช้ชีวิตเหมือนดังเช่นบรรยายอยู่ในการ์ตูนญี่ปุ่นที่เปรียบเสมือนโลกแห่งความฝันนั้นจะส่งผลกระทบต่อวัยรุ่นมากแค่ไหนจึงเป็นสิ่งที่น่าติดดามอย่างยิ่ง
เพลง ละคร ภาพยนตร์
วัฒนธรรมการฟังเพลงญี่ปุ่นแนว J-Pop และ J-Rock ของวัยรุ่นไทยนับวันจะแผ่ขยายออกไปในวงกว้าง สังเกตได้จากร้านขายเทป ซีดี เพลงญี่ปุ่นที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆที่วัยรุ่นไทยแทบจะฟังเนื้อร้องไม่ออกด้วยซ้ำ
จากงานวิจัยของวิภารัตน์ พันฤทธิ์ดำ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง “อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างประเทศที่มีต่ออัตลักษณ์ของวัยรุ่นไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีดนตรีญี่ปุ่น” พบว่า หลังจากที่เริ่มฟังเพลงญี่ปุ่น วัยรุ่นกลุ่มนี้จะมีการติดต่อเพื่อแลกเปลี่ยนที่อยู่กัน ส่วนใหญ่จะรู้จักเพื่อนใหม่ที่เป็นคนคอเดียวกันในร้านขายเทป จากนั้นจึงรู้จักและนัดเจอกันทุกเสาร์อาทิตย์ และมีกิจกรรมร่วมกันที่สยาม ซึ่งนอกจากแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องเพลงแล้ว วัยรุ่นกลุ่มนี้ยังมีเพื่อนใหม่ มีสังคมอีกสังคมหนึ่ง นอกเหนือจากกลุ่มเพื่อนที่โรงเรียน การฟังเพลงญี่ปุ่นทำให้วัยรุ่นกลุ่มนี้รู้สึกว่าตัวเองโดดเด่นจากเพื่อนคนอื่นและกลุ่มอื่น เพลงญี่ปุ่นทำให้พวกเขารู้สึกว่ามีสิ่งแปลกใหม่ ไม่ซ้ำซากจำเจ เป็นผู้นำ นอกจากนั้นศิลปินญี่ปุ่นจะมีลักษณะเด่นหรือการสร้าง “สัญญะ” ที่เป็นตัวของตัวเอง เช่น แต่งตัวไม่ซ้ำแบบใคร ทรงผมที่แหวกแนว การแสดงบนเวทีที่สามารถแสดงอะไรออกมาก็ได้ ศิลปินญี่ปุ่นจึงเป็นเหมือนฮีโร่ของเด็กกลุ่มนี้ที่พวกเขาต้องการเลียนแบบนั่นเอง ความนิยมเพลงญี่ปุ่นแม้แต่ผู้ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจเกี่ยวกับเพลงก็ยังยืนยันไม่ได้ว่าจะขยายตัวได้มากน้อยแค่ไหน เพราะต้องขึ้นอยู่กับกระแสและพฤติกรรมของผู้บริโภค
ละคร และภาพยนตร์ญี่ปุ่นที่แสดงถึงความ สดใส น่ารัก หรือวงดนตรีเร้าใจกับศิลปินที่หน้าตาแบบเอเชีย ก็เป็นสิ่งดึงดูดให้วัยรุ่นคลั่งไคล้อย่างมาก แม้บางคนจะฟัง และรู้จักภาษาญี่ปุ่นน้อยกว่าภาษาอังกฤษมากนักแต่ก็ยังนิยมญี่ปุ่นมากกว่า

สวัสดีเพื่อน

19 ส.ค.

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!